Examination แบบฝึกทดสอบวิชาจรรยาบรรณ แนวข้อสอบนายหน้าประกันวินาศภัย มีทั้งหมด 8 หมวด (♦ ต้องสมัครสมาชิก) 0% 0 votes, 0 avg 439 หมดเวลาในการทำข้อสอบแล้ว‼️ ขอบคุณ แบบทดสอบรวม ข้อสอบหมวดนี้เป็นแบบฝึกทดสอบวิชาจรรยาบรรณ มีทั้งหมด 40 ข้อ เกณฑ์การสอบผ่าน 70% (28 ข้อ) 1 / 40 1. นายทะเบียนตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 คือ A. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ B. เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย C. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง D. ปลัดกระทรวงการคลัง 2 / 40 2. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรียกว่า A. ผู้รับประโยชน์ B. ผู้เอาประกันภัย C. ผู้รับประกันภัย D. ถูกทุกข้อ 3 / 40 3. ลักษณะสำคัญของสัญญาประกันภัย คือ A. เป็นสัญญาต่างตอบแทน B. เป็นสัญญาที่ต้องอาศัยหลักสุจริตต่อกันอย่างยิ่ง C. เป็นสัญญาที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงสามารถฟ้องร้องบังคับได้ D. ถูกทุกข้อ 4 / 40 4. กรมธรรม์ประกันภัยกฎหมายกำหนดให้มีรายการดังต่อไปนี้เสมอ A. ราคาแห่งมูลประกันภัย B. วัตถุที่เอาประกันภัย C. ชื่อผู้รับประโยชน์ D. ถูกเฉพาะข้อ B. และข้อ C. 5 / 40 5. ข้อใดเป็นลักษณะการใช้รถยนต์ A. การใช้ส่วนบุคคล B. รถยนต์ป้ายแดง C. รถพยาบาล D. ถูกหมดทุกข้อ 6 / 40 6. จำนวนเงินเอาประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล โดยทั่วไปจะกำหนดจาก A. กำหนดตามราคา CIF B. กำหนดตามราคา CFR C. ถูกทั้งข้อ a. และข้อ b. D. กำหนดตามราคา CIF หรือ CFR บวก 10% 7 / 40 7. ในการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล เงื่อนไขใดที่ให้ความคุ้มครองกว้างที่สุด A. ICC (A) B. ICC (B) C. ICC (C) D. ICC (D) 8 / 40 8. การรับรองโดยปริยาย (Implied Warranties) ที่ใช้ในการประกันภัยทางทะเลและการขนส่งมีอะไรบ้าง A. ความพร้อมในการออกทะเล และความชอบด้วยกฎหมาย B. ความพร้อมในการออกทะเล และการรับช่วงสิทธิ์ C. ความพร้อมในการออกทะเล และการเปิดเผยข้อเท็จจริง D. ความพร้อมในการออกทะเล และความสุจริตใจอย่างยิ่ง 9 / 40 9. ข้อใดที่นายหน้าประกันวินาศภัยควรปฏิบัติมากที่สุดในการขายประกันวินาศภัยตามหลักจรรยาบรรณของนายหน้าประกันวินาศภัย A. ลดเบี้ยประกันภัย เพื่อช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้จ่ายเบี้ยประกันภัยน้อยลง B. ช่วยเหลือผู้เอาประกันภัยให้ได้ทาประกันวินาศภัย C. แนะนาให้ผู้เอาประกันภัยทาประกันภัย โดยมีจานวนเงินเอาประกันวินาศภัยสูงมากเพื่อจะได้ประโยชน์สูง D. ปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม และให้บริการที่ดีอย่างสมาเสมอ ชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยทราบถึงสิทธิและ หน้าที่ เงื่อนไขความคุ้มครอง เพื่อรักษาผลประโยชน์ของผู้เอาประกัน 10 / 40 10. นายหน้าประกันภัยวินาศภัยด้องประกอบธุรกิจด้วยมีความซื่อสัตย์สุจริตและไม่สนับสนุนการกระทำอันเป็นความผิดตามกฎหมาย ผิดศีลธรรมและผิดจรรยาบรรณใด ท่านคิดว่าความหมายในข้อใดเป็นความหมายที่ถูกต้อง A. นายหน้าต้องซื่อสัตย์ต่อผู้เอาประกันภัย โดยต้องไม่เปิดเผยข้อมูลอื่นใดของผู้เอาประกันภัยนอกจากที่ปรากฏในใบคำขอเอาประกันภัยให้บริษัทประกันภัยทราบ B. นายหน้าต้องซื่อสัตย์ต่อบริษัทประกันภัย โดยต้องยึดถือประโยชน์ของผู้เอาประกันภัยเป็นอันดับแรก C. นายหน้าต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เปิดเผยข้อมูลของผู้เอาประกันภัย และไม่เปิดเผยข้อมูลของบริษัทประกันภัย D. นายหน้าต้องตั้งอยู่บนความถูกต้องสุจริต และทำตัวเสมือนคนกลางที่ไม่เอาใจไปเข้าข้างลูกค้าหรือบริษัทประกันภัย 11 / 40 11. ข้อใดมิใช่ปัจจัยที่ใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันภัยรถยนต์ A. ขนาดรถยนต์ B. อายุผู้ขับขี่ C. อาชีพผู้ขับขี่ D. อุปกรณ์เพิ่มพิเศษ 12 / 40 12. บริษัทที่จะประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยได้ จะต้องได้รับใบอนุญาตจาก A. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ B. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง C. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์โดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี D. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรี 13 / 40 13. สัญญาประกันภัยเกิดขึ้นเมื่อใด A. เมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์ประกันภัยจากบริษัทประกันภัยแล้ว B. เมื่อผู้เอาประกันภัยได้รับกรมธรรม์ประกันภัยและชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยแล้ว C. เมื่อผู้เอาประกันภัยได้ชำระเบี้ยประกันภัยให้แก่บริษัทประกันภัยแล้ว D. เมื่อบริษัทประกันภัยตกลงรับประกันภัย แม้มิได้มีลายลักษณ์อักษร 14 / 40 14. ท่านเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยมาแล้ว 4 ปี และท่านจะสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนอย่างไร A. สนับสนุนให้มีนายหน้าประกันวินาศภัยมืออาชีพ B. ชักจูงให้เพื่อนนายหน้าประกันวินาศภัยออกแนะนำความรู้เกี่ยวกับอาชีพนี้ให้นักเรียนตามโรงเรียน C. รณรงค์ร่วมกับองค์กรคุ้มครองผู้บริโภคในการให้ความรู้เรื่องสิทธิประโยชน์ที่พึ่งได้รับจากการทำประกันภัย D. ถูกทุกข้อ 15 / 40 15. นายรักษ์นำรถยนต์ไปทำประกันภัยไว้ในปีแรกรถยนต์คันดังกล่าวเกิดอุบัติเหตุทำให้รถยนต์คันเอาประกันภัยได้รับความเสียหาย รวม 10 ครั้ง ค่าเสียหายรวมทั้งสิ้น200% ของเบี้ยประกันภัย แต่ความเสียหายที่เกิดขึ้นทุกครั้งเกิดจากความประมาทของคู่กรณีทั้งสิ้น ทั้งนายรักษ์สามารถแจ้งให้บริษัททราบถึงคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งได้ทุกครั้งด้วย ในการต่ออายุการประกันภัยปีต่อไป นายรักษ์จะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยอย่างไร A. จ่ายเบี้ยประกันภัยในอัตราปกติ B. จ่ายเบี้ยประกันภัย โดยเสียเบี้ยประกันภัยประวัติไม่ดีเพิ่ม 20% C. จ่ายเบี้ยประกันภัย โดยได้รับส่วนลดเบี้ยประกันภัย 20% D. ไม่มีข้อใดถูกต้อง 16 / 40 16. คำว่า "ตัวแทนประกันวินาศภัย" ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 หมายความว่า A. ผู้ซึ่งบริษัทประกันภัยมอบหมายให้ทำการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย B. ผู้ซึ่งชี้ช่อง หรือจัดการให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันภัย C. ผู้ซึ่งชี้ช่อง ให้บุคคลทำสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัทประกันภัย โดยหวังบำเหน็จเนื่องจากการนั้น D. ผู้ซึ่งจัดการ ให้บุคคลทำสัญญาประกันวินาศภัยกับบริษัทประกันภัย โดยหวังบำเหน็จเนื่องจากการนั้น 17 / 40 17. จากคำกล่าวที่ว่า "นายหน้าที่ดีนั้นควรปฏิบัติต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม ให้บริการที่ดีและสม่ำเสมอแก่ผู้เอาประกันภัย โดยไม่มีความจำเป็นต้องชี้แจงให้ผู้เอาประกันภัยได้ทราบถึงสิทธิหน้าที่ และผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันภัยควรจะได้รับ" ท่านคิดว่าคำกล่าวข้างต้นนี้ ถูกต้องหรือไม่ A. ถูก การบริการที่ดีอย่างสม่ำเสมอก็เป็นการเพียงพอและสำหรับนายหน้าประกันวินาศภัยที่ดี B. ถูก เพราะสิทธิ หน้าที่ และผลประโยชน์ ผู้เอาประกันภัยจะต้องศึกษาให้เข้าใจด้วยตนเองเท่านั้น ไม่จำเป็นที่นายหน้าประกันวินาศภัยต้องไปชี้แจงให้เข้าใจ C. ผิด เพราะการให้คำชี้แจงแก่ผู้เอาประกันภัยให้ทราบถึง สิทธิ หน้าที่ และผลประโยชน์ที่ควรจะได้รับเป็นการกระทำอีกอย่างหนึ่งที่นายหน้าประกันวินาศภัยที่ดีควรจะกระทำ D. ไม่มีข้อใดถูก 18 / 40 18. การประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการประกันวินาศภัยในประเทศไทย มีกฎหมายที่ใช้กำกับ คือ A. พระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันชีวิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 B. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 C. พระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2510 D. ถูกทั้งข้อ B. และข้อ C. 19 / 40 19. ตามพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 ได้กำหนดคุณสมบัติเกี่ยวกับเรื่องอายุของผู้ขอรับใบอนุญาตเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยไว้อย่างไร A. ต้องมีอายุ 15 ปี B. ต้องมีอายุ 18 ปี C. ต้องมีอายุ 19 ปี D. บรรลุนิติภาวะ 20 / 40 20. ความเสียหายเฉพาะ (Particular Average) ในการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเลคืออะไร A. ความเสียหายซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระทำอย่างจงใจในสภาวะที่เกิดภัย เพื่อ ความปลอดภัยของส่วนรวม โดยมีผลเฉพาะเจ้าของทรัพย์สินที่เสียหาย B. ความเสียหายซึ่งมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุโดยตรงและมีผลเฉพาะเจ้าของทรัพย์สินที่เสียหาย C. ความเสียหายซึ่งมีสาเหตุมาจากการกระทำอย่างจงใจในสภาวะที่เกิดภัย เพื่อความปลอดภัยของส่วนรวมและเจ้าของทรัพย์สินที่เสียหายทั้งหมดต้องร่วมกันรับผิดชอบ D. ความเสียหายซึ่งมีสาเหตุมาจากอุบัติเหตุโดยตรงและเจ้าของทรัพย์สินที่เสียหายทั้งหมดต้องร่วมกันรับผิดชอบ 21 / 40 21. สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาที่มีการตกลงระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ A. ผู้รับประกันภัยฝ่ายหนึ่งกับผู้รับประโยชน์ฝ่ายหนึ่ง B. ผู้รับประกันภัยฝ่ายหนึ่งกับผู้เอาประกันภัยฝ่ายหนึ่ง C. ผู้รับประกันภัยฝ่ายหนึ่งกับตัวแทนประกันภัยฝ่ายหนึ่ง D. ผู้รับประกันภัยฝ่ายหนึ่งกับนายหน้าประกันภัยฝ่ายหนึ่ง 22 / 40 22. นายหน้าประกันวินาศภัยจะต้องมีจรรยาบรรณในการชักชวนให้บุคคลทำสัญญาประกันภัยกับบริษัทประกันวินาศภัย ข้อต่อไปนี้ข้อใดนายหน้าประกันวินาศภัยควรปฏิบัติมากที่สุด A. ลดค่าบำเหน็จแก่ผู้เอาประกันภัย B. ติดตามให้การบริการแก่ผู้เอาประกันภัยอย่างสม่ำเสมอทั้งก่อนและหลังเสนอขาย C. ปกปิดภัยที่มีความเสี่ยงของผู้เอาประกันภัย เพื่อให้บริษัทตกลงทำสัญญากับผู้เอาประกันภัย D. ควรปฏิบัติทุกข้อ 23 / 40 23. ปัญหาที่นายหน้าประกันวินาศภัยไม่มาเก็บเบี้ยประกันภัย และให้บริการแก่ผู้เอาประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันภัยไม่ทราบถึงผลเสียนั้น ท่านมีความเห็นว่า A. นายหน้าควรแจ้งให้ผู้เอาประกันภัยทราบล่วงหน้าว่า การมาเก็บเบี้ยประกันภัยเป็นเพียงการให้บริการถ้านายหน้าไม่มาเก็บเบี้ยประกันภัยตามกำหนด เป็นหน้าที่ชองผู้เอาประกันภัยต้องส่งเบี้ยประกันภัยให้ถึงบริษัท B. เป็นหน้าที่ของนายหน้าที่ดีต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้น หากไปเก็บเบี้ยประกันภัยไม่ตรงตามกำหนด C. เป็นการกระทำที่ผิดจรรยาบรรณในข้อที่ไม่ปฏิบัติต่อลูกค้าโดยยึดถือประโยชน์ของลูกค้าเป็นสำคัญ D. ถูกทั้งข้อ A และ ข้อ C 24 / 40 24. ข้อใดมิใช่ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ A. ความเสียหายต่อชีวิต ร่างกายของบุคคลภายนอก B. ความเสียหายต่อทรัพย์สินที่บรรทุกอยู่ในรถยนต์คันเอาประกันภัย C. ความเสียหายต่อรถยนต์คันเอาประกันภัย D. การประกันตัวผู้ขับขี่ 25 / 40 25. ทำไมนายหน้าประกันวินาศภัยจึงต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ A. เพื่อไม่ให้ผิดจรรยาบรรณ หน้าที่และความรับผิดชอบของนายหน้าประกันวินาศภัย B. เพื่อทำให้ผู้เอาประกันภัยตกลงทำประกันวินาศภัยกับตน C. เพื่อพัฒนาตนเองให้ทันกับความก้าวหน้าของธุรกิจที่พัฒนา D. เพื่อสร้างความมั่นใจว่าจะสามารถขายประกันวินาศภัยได้ 26 / 40 26. ข้อใดมิใช่ประโยชน์ของใบสลักหลังกรมธรรม์ประกันภัย A. เพื่อแก้ไขรายละเอียดในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัยให้ถูกต้อง B. เพื่อเพิ่มเติม เปลี่ยนแปลงสิทธิประโยชน์และหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในกรมธรรม์ประกันอัคคีภัย C. เพื่อลดขอบเขตความคุ้มครองตามสัญญาประกันอัคคีภัย D. เพื่อให้ความคุ้มครองชั่วคราวแก่ผู้เอาประกันภัย 27 / 40 27. ระยะเวลาในการบอกล้างโมฆียะ กรณีไม่เปิดเผยข้อความจริงและแถลงข้อความเท็จ คือ A. 1 ปี นับแต่ทำสัญญาประกันภัย B. 2 ปี นับแต่ทำสัญญาประกันภัย C. 1 เดือน นับแต่ทราบมูลเหตุจะบอกล้างได้ D. ถูกทุกข้อ 28 / 40 28. ก่อนการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยท่านก็ต้องศึกษาหาความรู้ในเรื่องประกันวินาศภัยและการวิเคราะห์ประกันภัยรูปแบบต่างๆให้เข้าใจ เพื่อที่จะอธิบายให้ผู้เอาประกันภัยเข้าใจได้ และถ้าผ่านการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยแล้ว ท่านคิดว่า A. ความรู้เรื่องประกันวินาศภัยที่ควรมีเท่าเดิม ไม่จำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มขึ้น B. หมั่นศึกษาถึงแบบการประกันวินาศภัยใหม่ๆ ที่มีขายเพิ่มมากขั้นในตลาด C. หมั่นศึกษาหาความรู้ในเรื่องกฎระเบียบที่ใช้ในการกำกับนายหน้าประกันวินาศภัยประเภทการประกันวินาศ ภัย และความรู้เกี่ยวกับวิชาชีพ เพื่อพัฒนาตนเองตลอดเวลา D. เป็นนายหน้าประกันวินาศภัยต้องเรียนสูงขึ้นเรื่อยๆ เพื่อใช้ในการเลื่อนตำแหน่ง 29 / 40 29. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ "ราคาแห่งประมูลประกันภัย" หมายความถึง A. ราคาของวัตถุที่เอาประกันภัย B. ราคาของวัตถุที่เอาประกันภัย หักด้วยราคาความเสื่อมสภาพ C. ราคาของส่วนได้เสียที่กำหนดไว้ในสัญญาประกันภัย D. ราคาที่จะได้รับการชดใช้เมื่อเกิดความเสียหาย 30 / 40 30. ผู้เอาประกันภัยได้ซื้อความคุ้มครองภัยจากสงครามในกรมธรรม์ประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล หากเกิดความเสียหายจากสงคราม จะได้รับความคุ้มครองได้หรือไม่ A. ได้ เฉพาะสินค้าที่อยู่ ณ เมืองท่าต้นทาง B. ได้ เฉพาะสินค้าที่อยู่บนเรือเดินสมุทร C. ได้ เฉพาะสินค้าที่อยู่ในโกดังเก็บสินค้า D. ได้ เฉพาะสินค้าที่อยู่บนรถบรรทุก 31 / 40 31. ในการประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล ภัยที่ ICC (C) ไม่ให้ความคุ้มครอง คือ A. อัคคีภัย B. ระเบิด C. เรือเกยตื้น D. แผ่นดินไหว 32 / 40 32. ผู้เอาประกันภัยสามารถทำประกันอัคคีภัย โดยกำหนดระยะเวลาเอาประกันภัยสูงสุดกี่ปี A. 2 ปี B. 3 ปี C. 4 ปี D. 5 ปี 33 / 40 33. สัญญาประกันภัยมีบุคคลที่เกี่ยวข้องอยู่ 3 ฝ่าย คือ A. ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และผู้ชำระเบี้ยประกันภัย B. ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และตัวแทนนายหน้าประกันภัย C. ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และผู้ขอเอาประกันภัย D. ผู้เอาประกันภัย ผู้รับประกันภัย และผู้รับประโยชน์ 34 / 40 34. การที่นายหน้าประกันวินาศภัยมีความภักดีต่อบริษัทประกันภัยที่ส่งงานลูกค้าอย่างไร A. ลูกค้าจะได้เบี้ยประกันภัยที่ถูกลง B. ลูกค้าจะได้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัยที่เหมาะกับความเสี่ยงภัย C. ลูกค้าจะได้บริการที่ดี มีมาตรฐาน มีคุณภาพ ทั้งจากบริษัทประกันภัยและนายหน้าประกันภัยที่เป็นมืออาชีพ D. ลูกค้าจะได้เพื่อนที่ชื่อสัตย์ 35 / 40 35. สัญญาประกันภัยขนส่งสินค้าทางทะเล แบบ MAR Form จะเริ่มต้นคุ้มครองเมื่อ A. สินค้าเก็บอยู่ในยานพาหนะซึ่งจอดอยู่ในโกดังหรือสถานที่เก็บสินค้า B. สินค้าอยู่ในเรือเพื่อเตรียมที่จะขนส่งไปยังจุดหมายปลายทาง C. สินค้าที่เคลื่อนออกจากโกดัง หรือสถานที่เก็บสินค้าที่ระบุไว้ D. สินค้าเก็บอยู่ ณ ท่าต้นทางของผู้ส่งสินค้า 36 / 40 36. ข้อใดไม่เกี่ยวข้องกับสัญญาประกันภัยตามประมวลแพ่งและพาณิชย์ A. หลักสุจริตต่อกันอย่างยิ่ง B. หลักส่วนได้เสียในเหตุที่เอาประกันภัย C. หลักการรับช่วงสิทธิ์ D. หลักการโอนสิทธิ์ 37 / 40 37. อาคารที่มีความสูงตั้งแต่กี่ชั้นขึ้นไป จึงจะคิดเบี้ยประกันภัยเพิ่มสำหรับความสูงของอาคาร A. 7 ชั้น B. 10 ชั้น C. 12 ชั้น D. 15 ชั้น 38 / 40 38. การกระทำใดต่อไปนี้ถือว่านายหน้าประกันวินาศภัยรักษาความลับอันไม่ควรเปิดเผยของผู้เอาประกันภัย A. ปกปิดเรื่องผู้เอาประกันภัยเป็นโรคมะเร็ง เพื่อให้บริษัทพิจารณารับประกันสุขภาพ B. ปกปิดอายุที่แท้จริงของผู้เอาประกันภัย เพื่อให้จ่ายเบี้ยประกันน้อยลง C. ปกปิดเรื่องมารดาของผู้เอาประกันภัยเป็นโรคติดต่อ ไม่ให้เพื่อนๆของผู้เอาประกันภัยรู้ D. ปกปิดผู้รับประโยชน์ เรื่องผู้เอาประกันภัยได้ทำประกันภัยไว้ 39 / 40 39. ผู้ใดกระทำการเป็นนายหน้าประกันวินาศภัยโดยไม่ได้รับอนุญาตจากนายทะเบียนต้องระวางโทษ A. จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ B. จำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ C. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ D. จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 40 / 40 40. บุคคลภายนอกในกรณีการประกันภัยค้ำจุน หมายถึง A. บุคคลทุกคนที่มิใช่ผู้เอาประกันภัยและผู้รับประกันภัย B. บุคคลที่มิใช่คนในครอบครัวของผู้เอาประกันภัย C. บุคคลที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของผู้เอาประกันภัย D. ถูกทุกข้อ Your score is LinkedIn Facebook Twitter VKontakte ชุดแนวข้อสอบนายหน้าประกันวินาศภัยออนไลน์ พร้อมเฉลย เรียบเรียงโดย คุณพรปวีณ์ เจริญรัตนาสกุล นายหน้าประกันวินาศภัย & ประกันชีวิต*** หากต้องการทำข้อสอบทุกหมวด คุณจะต้อง “สมัครสมาชิก” จึงจะสามารถทำแบบทดสอบได้